วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์


          วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย  วันที่ 27 เมษายน 2558

                 ชื่อ    นางสาววีนัส   ยอดแก้ว           กลุ่มเรียน  106      เวลา   13.10 น. - 16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับ



         อาจารย์ให้สอบร้องเพลงเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นเพลงที่อาจารย์เคยแจกชีทและสอนให้ร้องในห้องเรียน ในการสอบนั้นอาจารย์จะจับฉลากเลขที่แล้วให้เจ้าตัวจับฉลากชื่อเพลงจับได้เพลงไหนให้ร้องเพลงนั้น โดยในการสอบจะมีคะแนน 5 คะแนน และอาจารย์จะมีตัวช่วยให้ 3 ตัวช่วย ดังนี้
         1. จับเพลงใหม่ หัก 0.5 คะแนน
         2. ดูเนื้อร้อง หัก 1 คะแนน
         3. ให้เพื่อนช่วยร้อง หัก 1 คะแนน
         ซึ่งดิฉันจับฉลากได้เพลง จ้ำจี้ดอกไม้ และได้คะแนน 5 คะแนนเต็ม

        

สิ่งที่นำไปพัฒนา

       สามารถนำเพลงที่ได้ฝึกร้องตลอดทั้งภาคเรียนไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้แก่เด็กปฐมวัย นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาอื่นๆได้อีกด้วย


การประเมินผล

        ตนเอง   : ตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย เตรียมตัวมาดี มีการฝึกร้องเพลงมาล่วงหน้าก่อนมาสอบ สามารถร้องเพลงสอบออกมาได้ดี ได้คะแนนตามที่ตั้งเป้าไว้ 
        เพื่อน     : ตรงต่อเวลา เตรียมตัวมาดีในการสอบร้องเพลง เพราะส่วนมากร้องได้คะแนนดี
        อาจารย์ : อาจารย์ใจดี สอนสนุก มีความเป็นกันเองกับนักศึกษา คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือนักศึกษาในทุกๆเรื่อง


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์


          วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย  วันที่ 23 เมษายน 2558

                 ชื่อ    นางสาววีนัส   ยอดแก้ว           กลุ่มเรียน  106      เวลา   13.10 น. - 16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับ


       * อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน เพื่อทำกิจกรรมเขียนแผน IEP


       * เข้าสู่บทเรียนเรื่อง โปรแกรมศึกษาเฉพาะบุคคล หรือแผน IEP ซึ่งมีเนื้อหาดังนี้
          - แผน IEP : เป็นแผนการศึกษาที่ร่างขึ้นเพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอนและการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
           - การเขียนแผน IEP : คัดแยกเด็กโดยครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด เด็กสามารถทำอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
           - IEP ประกอบด้วย : ข้อมูลส่วนตัวเด็ก ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องรับบริการพิเศษอะไรบ้าง ระบุความสามารถของเด็กในปัจจุบัน เป้าหมายระยะยาวประจำปี ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน วิธีการประเมินผล
           - ประโยชน์ต่อเด็ก : ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม 
           - ประโยชน์ต่อครู : เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
            - ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง : ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ ได้ทราบร่วมกับครูผู้สอนว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร 
            - ขั้นตอนในการเขียนแผนการศึกษารายบุคคล มีดังนี้
               1. การรวบรวมข้อมูล : รายงานทางการแพทย์ รายงานการประเมินด้านต่างๆ บันทึกจาก
ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
               2. การจัดทำแผน : ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
               3. การใช้แผน : เมื่อแผนเสร็จสมบรูณ์ ครูจะนำไปใช้โดยใช้แผนระยะสั้น นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก จัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์การสอน
               4. การประเมิน : โดยทั่วไปประเมินภาคเรียนละครั้งหรือย่อยกว่านั้น ควรมีการกำหนดวิธีการประเมินและเกณฑ์วัดผล


สิ่งที่นำไปพัฒนา

       นำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลไปใช้เป็นแนวทางในการเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลในอนาคต นอกจากนี้ยังนำไปใช้เป็นแนวทางในการต่อยอดศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำมาปรับใช้ในการเขียนแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลให้ดียิ่งขึ้น


การประเมินผล

      ตนเอง   : ตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามในชั้นเรียนเป็นอย่างดี
      เพื่อน     : ตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
      อาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจง่าย มีความชัดเจน มีการยกตัวอย่างสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ได้จริง


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์


          วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย  วันที่ 16 เมษายน 2558

                 ชื่อ    นางสาววีนัส   ยอดแก้ว           กลุ่มเรียน  106      เวลา   13.10 น. - 16.40 น.




ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นเทศกาลวันสงกรานต์
ซึ่งอาจารย์ได้มีการชดเชยโดยการนัดสอบร้องเพลง
ในวันที่ 27 เมษายน 2558

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์


          วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย  วันที่ 9 เมษายน 2558

                 ชื่อ    นางสาววีนัส   ยอดแก้ว           กลุ่มเรียน  106      เวลา   13.10 น. - 16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับ

     * อาจารย์เฉลยแบบฝึกหัดที่ทำในสัปดาห์ที่แล้ว ว่าในแต่ละสถานการณ์ครูจะมีวิธีการและแนวทางในการปรับพฤติกรรมและช่วยเหลือเด็กได้อย่างไรบ้าง
     * เข้าสู่บทเรียนเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางการเรียน ดังนี้
         - เป้าหมาย : ช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ มีความรู้สึกดีต่อทุกคน เด็กจะรู้สึกว่าตัวเองทำได้ มั่นใจในตนเอง มีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น อยากสำรวจ อยากทดลอง
          - ช่วงความสนใจ : ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร เด็กปกติจะมีช่วงสนใจประมาณ 10-15 นาที ส่วนเด็กพิเศษจะไม่เกิน 5 นาที
          - การรับรู้ การเคลื่อนไหว : ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น และตอบสนองอย่างเหมาะสม
          - การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก : การกรอกน้ำ ตวงน้ำ ต่อบล็อก ศิลปะ มุมบ้าน ช่วยเหลือตนเอง
          - ความจำ : จากการสนทนา ถามเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว
          - การวางแผนเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ : จัดกลุ่มเด็ก เริ่มเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย เป็นต้น


สิ่งที่นำไปพัฒนา

      นำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางการเรียนให้แก่เด็กปฐมวัยซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับเด็กได้ทั้งเด็กปกติและเด็กพิเศษ นอกจากนี้ยังใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อนำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครั้งต่อๆไป

การประเมินผล

        ตนเอง   : ตรงต่อเวลา  ตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและตอบคำถามในชั้นเรียนเป็นอย่างดี
        เพื่อน     : ตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์
        อาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจง่าย ชัดเจน มีการยกตัวอย่างทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหารายวิชานี้มากยิ่งขึ้น

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์


          วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย  วันที่ 26 มีนาม 2558

                 ชื่อ    นางสาววีนัส   ยอดแก้ว           กลุ่มเรียน  106      เวลา   13.10 น. - 16.40 น.


ความรู้ที่ได้รับ

      - อาจารย์พูดให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวและการเลือกโรงเรียนไปสังเกตการสอน  
      - อาจารย์ให้ทำแบบฝึกหัดจำนวน 5 ข้อ 10 คะแนน เพื่อทดสอบความรู้เดิมจากที่ได้เรียนมา ซึ่งคำถามนั้นจะเป็นการยกตัวอย่างสถานการณ์ต่างๆ โดยให้นักศึกษาบอกแนวทางในการปรับพฤติกรรมของเด็กและแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่พบเจอในสถานการณ์นั้นๆ

สิ่งที่นำไปพัฒนา

       นำความรู้ที่ได้จากการทำแบบฝึกหัดในวันนี้ไปปรับใช้ในการเรียนต่อไป ควรตั้งใจเรียนและฟังที่อาจารย์สอนให้มากขึ้นกว่าเดิม 

การประเมินผล

        ตนเอง   : ตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจทำแบบฝึกหัด
        เพื่อน     : ตรงต่อเวลา ตั้งใจทำแบบฝึกหัด
        อาจารย์ : อาจารย์นำแบบฝึกหัดมาให้นักศึกษาทบทวนความรู้ ทำให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น